วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดอกSunflower



รูปภาพเที่ยวทุ่งทานตะวันบานกันชื่อวิทยาศาสตร์:  Helianthus annuus
ชื่อวงศ์:  COMPOSITAE
ชื่อสามัญ:  Sunflower
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่อายุเพียง 1 ปี ลักษณะของลำต้นเป็นแกนแข็ง ตั้งตรง มีขนขึ้นเป็นกลายแข็ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-3.5 เมตร
    ใบ  มีลักษณะเป็นรูปกลมรี โคนใบโค้งเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยักย่อยเป็นแบบฟันปลา บริเวณหลังและใต้ท้องใบ มีขนสากขึ้นประปราย ใบมีขนาดยาวประมาณ 4-12 นิ้ว กว้างประมาณ 3.5-10 นิ้ว ก้านใบยาว
    ดอก  ดอกออกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุก ขนาดใหญ่จะออกบริเวณยอด หรือรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะของดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ตรงกลางดอกเป็นเกสรตัวเมีย 1 อัน และเกสรตัวผู้ 5 อัน กลีบดอกวงในมีสีเหลือง ส่วนกลีบดอกวงนอกมีสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองทอง มีขนาดยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ฐานดอกมีสีเขียวเชื่อมติดกัน
    ฝัก/ผล  มีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีสีขาว สีเทา หรือสีดำ ขนาดยาวประมาณ 6-17 มม.
    เมล็ด  มีเมล็ด เพียง 1 เมล็ดเป็นสีเหลืองอ่อน
การปลูก:  ปลูกเป็นแปลง
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงแดดจัด   ขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย  ระบายน้ำได้ดี  ต้องการน้ำปานกลาง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    เมล็ด ใช้บริโภคโดยตรง เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ได้ในเมล็ด มีธาตุเหล็กสูงไม่แพ้ธาตุเหล็กจากไข่แดงและตับสัตว์เมื่อบดทำ แป้งจะได้แป้งสีขาว มีไขมันสูง มีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณแป้ง
    -    เปลือกของลำต้น มีลักษณะเหมือนเยื่อไม้นำมาทำกระดาษสีขาวได้คุณภาพดี 
    -    ลำต้นใช้ทำเชื้อเพลิงได้ เมื่อไถกลบจะเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้ดี
    -    ราก ใช้ทำแป้งเค้ก สปาเก็ตตี้ ในรากมีวิตามินบี 1 และธาตุอีกหลายชนิด แพทย์แนะนำ ให้ใช้รากทานตะวันประกอบอาหารสำ หรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
    -    น้ำมัน น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดจะให้ปริมาณน้ำมัน สูงถึงร้อยละ 35 และได้น้ำมันที่มีคุณภาพสูง ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเช่น กรดลิโนเลอิค หรือกรดลิโนเลนิค สูงถึงร้อยละ 60-70 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยลดคลอเรสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได ้และยังประกอบด้วยไวตามิน เอ ดี อี และเค ซึ่งคุณภาพของไวตามินอีจะสูงกว่าในนํ้ามันพืชอื่น ๆ เมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานจะไม่เกิดกลิ่นหืน ทั้งยังทำ ให้สีกลิ่น และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากใช้เป็นนํ้ามันพืชแล้วยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรม ทำ เนยเทียม สี นํ้ามันชักเงา สบู่ และนํ้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์
รูปภาพเที่ยวทุ่งทานตะวันบานกัน    -    กาก กากที่ได้จากการสกัดนํ้ามันออกแล้ว จะนำ ไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ได้ ในกากเมล็ดทานตะวันที่กะเทาะเปลือกและบีบนํ้ามันออกแล้ว จะมีโปรตีนร้อยละ 42 และใช้เป็นแหล่งแคลเซียมสำ หรับปศุสัตว์ได้ดีแต่จะมีปริมาณกรดอะมิโนอยู่เล็กน้อย และขาดไลซีน จึงต้องใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะเอาไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาตะวันตก
ส่วนที่ใช้บริโภค: เมล็ด
การปรุงอาหาร:  เมล็ดทานตะวันอบแห้ง คุ้กกี้ทานตะวัน ทานตะวันแผ่น
สรรพคุณทางยา:  
    -    ดอก ใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้วิงเวียนศีรษะ ช่วยขับลม บีบมดลูก ทำให้ตาสดใส และรักษาใบหน้าตึงบวม ฐานรองดอก เป็นยาแก้อาการปวดรอบเดือน ปวดศีรษะ ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอักเสบ และแก้อาการปวดบวมฝี เป็นต้น แกนลำต้น เป็นยาแก้โรคนิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นโลหิต ปัสสาวะขุ่นขาว ช่วยขับปัสสาวะได้ดี ไอกรน และยังเป็นยาช่วยรักษาบริเวณแผลที่มีโลหิตออก เป็นต้น
    -    ใบ เป็นยาแก้โรคเบาหวาน และโรคหอบหืด
    -    เมล็ด ในเมล็ดมีน้ำมันประมาณ 50% และมี linoleic acid 70๔ phosphatide, phospholipid, B-sitosterol น้ำมันในเมล็ดสามารถช่วยลดไขมันในเส้นโลหิต เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ขจัดเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับหนองใน แก้ฝีฝักบัว แก้โรคบิด และยังช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น
    -    เปลือกเมล็ด มีน้ำมัน 5.17% ขี้ผึ้ง 2.96% โปรตีน 4% และมี cellulose, pentosan และ lignin ใช้เป็นยารักษาแก้อาการหูอื้อ
    -    ราก เป็นยาแก้ระบาย ขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ และแก้อาการฟกช้ำ ปวดท้องแน่นหน้าอก เป็นต้น

*เมื่อออกดอกแล้วดอกจะหันไปทางทิศตะวันออก เป็นการทานตะวัน ไม่หันไปทางทิศอื่น จึงได้ชื่อว่า ดอกทานตะวัน
รูปภาพเที่ยวทุ่งทานตะวันบานกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น