วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ต้นสุพรรณิการ์

ต้นสุพรรณิการ์
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cochlospermum religiosum Alston
ชื่อวงศ์:  COCHLOSPERMACEAE
ชื่อสามัญ:  Yellow Silk Cotton Tree, Yellow Cotton
ชื่อพื้นเมือง:  ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5 – 10 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลม เปลือกต้นเรียบสีเทา กิ่งก้านคดงอ
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ มี 5 แฉก ปลายใบแฉกแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเป็นคลื่น ออกเวียนสลับกัน
    ดอก  ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งสีเหลือง ทยอยบาน ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไม่มีขน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 - 10 เซนติเมตร ผล ขนาด 8 - 10 เซนติเมตร สีเขียวเมื่อแก่
    ฝัก/ผล  เมล็ดสีน้ำตาล แตกออกเป็น 3 - 5 พู รูปไตสีน้ำตาลเข้ม มีปุยสีขาวคล้ายสำลีหุ้ม 
ฤดูกาลออกดอก:  ธันวาคม - มีนาคม
การดูแลรักษา:  ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  
    -    เพาะเมล็ด  นำเมล็ดแช่น้ำประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ
    -    ปักชำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผม
    -    ยางจากต้นทำครีมทาบำรุงผิว Karaya gum ทางการค้าเรียกว่า Crystalgum เป็นก้อนสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู มักใช้ในทางอุตสาหกรรมทอผ้าและการพิมพ์ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ผสมไอศกรีมทำให้ข้น 
    -    เนื้อไม้ต้มกับแป้งเป็นอาหาร
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกากลางและอเมริกาใต้
สรรพคุณทางยา:
    -    รับประทานเป็นยาระบาย 
    -    ดอกแห้งและใบแห้งใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น