วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ต้นราสพ์เบอรี่ Raspberry



 ราสพ์เบอรี่ Raspberry

 ชื่อวิทยาศาสตร์  Rubus  idaeus L.

                  ราสพ์เบอรี่เป็นไม้ผลขนาดเล็กที่ปลูกแพร่หลายทั่วโลกรองจากสตรอเบอรี่และองุ่น สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาทดลอง ค้นคว้าและวิจัยในปี พ.ศ.  2522  โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงภายใต้โครงการ Research on samll fruit productions substitute crops for opium poppy ต่อจากนั้นได้มีการวิจัยและพัฒนามาจนกระทั่งปัจจุบัน  ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมปลูกเป็นการค้าได้ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และสถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ (ขุนห้วยแห้ง)

 ลักษณะโดยทั่วไป
         
                  ราสพ์เบอรี่เป็นไม้ผลเขตหนาวขนาดเล็กที่มีอายุหลายปีโดยจะมีต้นใหม่งอกจากรากที่อยู่ใต้ดินขึ้นมาทดแทนต้นเดิมที่ให้ผลผลิตแล้วทุกปี ราสพ์เบอรี่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Autumn Bearing Raspberries ซึ่งให้ผลผลิตได้จากกิ่งอายุหนึ่งปี (Primocanes)  โดยในประเทศไทยจะให้ผลผลิตในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม  เช่น พันธุ์ Amity และ Summer Bearing Raspberries ซึ่งให้ผลผลิตบนตาข้างกิ่งอายุ 2 ปี (Floricanes) ที่ได้รับความหนาวเย็นยาวนานเพียงพอ

 การดำเนินงานในปัจจุบัน

                  การศึกษาวิจัยในระยะแรกเป็นการทดลองปลูกราสพ์เบอรี่พันธุ์ Glen Clova และ Malling Admiral ซึ่งนำเข้ามาจาก East Malling Research Station ประเทศอังกฤษ ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางและสถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ พบว่า การเจริญเติบโตดีพอสมควรแต่ยังให้ผลผลิตไม่ดี เพราะเป็นประเภทSummer Bearing Raspberries ต้องการอากาศหนาวเย็นยาวนาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้นำพันธุ์  ราสพ์เบอรี่พันธุ์ Amity, Southland fastival และ Heritage จากประเทศนิวซีแลนด์เข้ามาทดสอบและพบว่าพันธุ์ Amity ที่ปลูกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางและสถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ ซึ่งเป็นประเภท Autumn Bearing Raspberries ให้ผลผลิตได้ดี สามารถที่จะผลิตเป็นการค้าได้ จึงได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกครั้งแรกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง ในขณะเดียวกันก็ได้ทำการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การตัดแต่งกิ่ง  การให้ปุ๋ยและการทดสอบพันธุ์ใหม่ เช่นพันธุ์ Heritage และ       Bi-lenternial ที่นำมาจากประเทศออสเตรเลีย

ต้นสตรอเบอร์รี

 สตรอเบอร์รี (อังกฤษstrawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอเบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอเบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอเบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก

 รูปลักษณะ
    เป็นพืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มีเสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก
 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
    พื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป
พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์
 ฤดูกาล
เริ่มปลูกในช่วงเดือนปลายสิงหาคม - ปลายตุลาคม
เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป
 พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย
    1.พันธุ์พระราชทาน 16
    2.พันธุ์พระราชทาน 20
    3.พันธุ์พระราชทาน 50 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
     4.พันธุ์พระราชทาน 70 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักต่อผล 11.5 - 13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6° Brix
      5.พันธุ์พระราชทาน 72 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 น้ำหนักต่อผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่าคือ 9.3° Brix มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
 
 
 

ต้นองุ่น (Grape)

องุ่น (Grape)

 ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Vitis Vinifera Linn
องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลำต้น กิ่งถาวรอายุเกิน 1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อดอกบานกลีบดอกเมื่อบานสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉ่ำน้ำ มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว, ม่วงแดงและม่วงดำแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1 - 4 เมล็ด
ประเทศไทยนิยมปลูกองุ่นในแถบภาคตะวันตก เช่น อำเภอดำเนินสะดวก, จังหวัดราชบุรี อำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี, จังหวัดนครปฐม และ อำเภอบ้านแพ้ว, จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ดี แต่เกษตรกรบางรายได้เปลี่ยนจากองุ่นเป็นพืชอื่น เนื่องจากมีปัญหาโรคแมลงระบาดมาก และแมลงดื้อยาไม่สามารถกำจัดได้ ทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นในแถบนี้ลดลง พื้นที่ปลูกองุ่นได้ขยายไปในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย แต่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงระบาดมากทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นไม่ค่อยขยายเท่าที่ ควร
 พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูก
1. พันธุ์ไวท์มะละกา มี 2 สายพันธุ์ คือ ชนิดผลกลมและผลยาว ลักษณะช่อใหญ่ยาว การติดผลดีผลมีสีเหลืองอมเขียว รสหวานแหลม เปลือกหนาและเหนียว ในผลหนึ่งๆ มี 1-2 เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง ปีหนึ่งให้ผลผลิต 2 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง
2. พันธุ์คาร์ดินัล มีลักษณะช่อใหญ่ ผลดก ผลกลมค่อนข้างใหญ่ มีสีแดงหรือม่วงชมภู รสหวาน กรอบ เปลือกบาง จึงทำให้ผลแตกง่ายเมื่อผลแก่ในช่วงฝนตกชุก ในผลหนึ่งๆ มีเมล็ด 1-2เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ใช้เวลา 3-3 เดือนครึ่ง ในเวลา 2 ปี สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 5 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 ตัน/ต้น

 คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
องุ่น เป็นผลไม้ที่กระตุ้นกำลัง กระตุ้นความสดชื่นได้เร็ว เพราะน้ำตาลในอวุ่นเป็นตาลธรรมชาติ ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยใดๆ น้ำองุ่น ช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกายมากยิ่งขึ้น เมื่อใดก็ตามที่กินอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ดื่มน้ำองุ่นตามไปสักแก้ว จะช่วยเผาผลาญอาหารที่เกินได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการดีต่อร่างกายเพราะเท่ากับเป็นการช่วยขจัดอาหารส่วนเกิน น้ำองุ่นนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะน้ำองุ่นสดๆ จะมีแร่ธาตุครบถ้วน ทั้งแคลเซียม คลอไรด์ ทองแดง โฟลีน เหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซิลิคอน และซัลเฟอร์ น้ำองุ่นสดจึงช่วยล้างและสร้างเม็ดเลือดนอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นตับให้ทำ หน้าที่ฟอกเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ องุ่นเป็นยาระบาย แก้ท้องผูกได้ดี ช่วยรักษาโรคลำไส้และบรรเทาอาการท้องผูกเรื้อรัง ผู้ที่มีปัญหาเรื่องนี้ควรกินองุ่นสดอย่างน้อย 350 กรัมต่อวัน องุ่นช่วยกระตุ้นหัวใจและมีผลต่อการเต้นของหัวใจ น้ำตาลในองุ่นสร้างพลังงานที่จำเป็นสำหรับการทำงานของหัวใจ ลดความเจ็บปวดและช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกตินอกจากนี้องุ่นยังดี ต่อตับ โดยช่วยกระตุ้นการทำงานของไกลโคเจนและน้ำดีอีกด้วย

 

 

ต้นแอปเปิล


แอปเปิล (อังกฤษapple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นผลไม้ในตระกูล Rosaceae แอปเปิลเป็นผลไม้ที่นิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก เป็นไม้ผลเมืองหนาว มีต้นกำเนิดในบริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบัน จากนั้นจึงกระจายพันธุ์ไปยังเทือกเขาคอเคซัสและลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส แล้วแพร่หลายต่อไปในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา และดินแดนอื่นทั่วโลก ในประเทศไทยปลูกได้ในพื้นที่ภาคเหนือ เช่นที่ดอยอ่างขาง
ต้นแอปเปิลจะสูงประมาณ 5-12 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเขียวเข้มเป็นมัน ขอบหยัก ดอกออกเป็นกลุ่มสีขาวอมชมพู ผลกลมรี มีรอยบุ๋มทั้งขั้วผลและท้ายผล ผลแอปเปิลมีเปลือกบาง สีแดง เขียว และเหลืองตามสายพันธ์ เนื้อในเป็นเหมือนทรายละเอียดสีเหลืองนวล เมล็ดมีขนาดเล็ก สีดำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                แอปเปิลเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 3 - 12 เมตร เรือนยอดกว้าง กิ่งหนาแน่นรูปไข่เรียงสลับ ยาว 5 - 12 ซม. กว้าง 3 - 6 ซม. ก้านใบยาว 2 - 5 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใต้ใบปกคลุมด้วยขนนุ่มเล็กน้อย ดอกเกิดขึ้นพร้อมการแตกใบใหม่ในฤดูใบไม้ผลิ ดอกมีสีขาวแต้มสีชมพู และเข้มขึ้นเมื่อดอกใกล้โรย มีกลีบดอกห้ากลีบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3.5 ซม. ผลสุกในฤดูใบไม้ร่วง โดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 9 ซม. กลางผลมีคาร์เพล (carpel) ห้าโพรงเรียงตัวในรูปดาวห้าแฉก แต่ละโพรงบรรจุไปด้วยเมล็ดหนึ่งถึงสามเมล็ด
บรรพบุรุษต้นตระกูลของแอปเปิล (Malus domestica) คือ Malus sieversii ซึ่งพบเจริญเติบโตตามธรรมชาติในภูเขาของเอเชียกลางในตอนใต้ของประเทศคาซัคสถานประเทศคีร์กีซสถานประเทศทาจิกิสถาน, และ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีนการเพาะปลูกพืชชนิดนี้ มีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในป่าแถบไหล่เขาของเทือกเขาเทียนซาน (Tian Shan) ซึ่งเป็นที่ที่แอปเปิลมีการวิวัฒนาการมาเป็นเวลานาน และมีการอินโทรเกรสชัน (Introgression, การที่ชิ้นส่วนของโครโมโซมจากพืชชนิดหนึ่งถูกถ่ายทอดไปอยู่ในพืชอีกชนิดหนึ่ง โดยการผสมพันธุ์ข้ามชนิดหรือผสมข้ามสกุล) ทุติยภูมิของยีนจากพืชชนิดอื่นในเมล็ดพันธุ์จากการผสมเปิด เช่น ยีนจำนวนมากที่แลกเปลี่ยนกับแครปแอปเปิลยุโรป (ซึ่งประชากรของแอปเปิลในปัจจุบันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแครปแอปเปิลยุโรปมากกว่าลักษณะที่ดูคล้ายกันของบรรพบุรุษ ซึ่งก็คือ Malus sieversii แม้ว่าปัจจุบันในสายพันธุ์บริสุทธิ์จะปราศจากการผสมกับลูกผสมที่มีลักษณะแครปแอปเปิลยุโรปเด่นกว่า แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าแอปเปิลอาจวิวัฒนาการมาจาก Malus sieversii เพียงชนิดเดียวเท่านั้น
 
 
Photobucket Photobucket

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดอกหรีดเชียงขาว


ดอกหรีดเชียงขาว

ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Gentiana leptoclada ssp. australis

 ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเกลี้ยง สูง 40-80 ซม. ใบรูปไข่ กว้าง 1-1.3 ซม. ยาว 2-4 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเรื่อย
 ดอก สีม่วงอมฟ้า ออกเป็นกระจุก 1-5 ดอก ที่ปลายยอดและซอกใบ ดอกบานมีขนาด 2.5-3 ซม. กลีบรองดอกเป็นถ้วยตื้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ
 ช่วง เวลาออกดอก ต.ค. - ธ.ค.
 แหล่งที่พบ : ดอยหลวงเชียงดาว ความสูง 1,600 เมตร ขึ้นไป
 
 

ดอกแคนดี้ทัฟท์


 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Iberis spp. วงศ์ : Cruciferae ชื่อสามัญ : Candytuft ชื่ออื่น ๆ : แคนดี้ทัฟท์

 ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
แคนดี้ทัฟท์มี 2 ชนิด คือ
1.Rocket candytuft (ชื่อวิทยาศาสตร์ Iberis Amara) พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในดินด่างของประเทศอังกฤษ และตอนกลางของยุโรป ที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากมีช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกยาวตั้งขึ้น ใช้เป็นไม้ตัดดอก
2.Globe candytuft (ชื่อวิทยาศาสตร์ Iberis Umbellata) มีถิ่นกำเนิดแถบยุโรปตอนใต้
ลักษณะช่อกลมและแบน
Rocket candytuft ลักษณะดอกเป็นช่อตั้งเหมือนจรวด มีสีขาวสีเดียว ต้นหนึ่งมีประมาณ 3 ช่อขึ้นไป ต้นสูงประมาณ 18-24 นิ้ว แผ่พุ่มกว้าง 15-18 นิ้ว ดอกย่อยมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
Globe candytuft ต้นสูง 6-9 นิ้ว ต้นเป็นพุ่มกว้างและให้ดอกดก ดอกย่อยเรียงกันเป็นช่อกลม และแบน ไม่มีกลิ่น ดอกมีสีต่าง ๆ เช่น สีชมพู ม่วงอมฟ้า ม่วงอมแดง แดง และขา
 พันธุ์ที่ใช้ปลูก
Rocket candytuft ได้แก่ พันธุ์ Iceberg, White Pinnacle
Globe candytuft ได้แก่ พันธุ์ Fairy, Flash
 การปลูกและการดูแลรักษา
แคนดี้ทัฟท์ทั้งสอบชนิดชอบแสงแดดจัดควรปลูกไว้กลางแจ้ง
ควรปลูกเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น เนื่องจากแคนดี้ทัฟท์ชอบอากาศเย็น
ระยะเวลาจากเพาะเมล็ดจนได้ดอก 8-10 อาทิตย์