ไม้ดอกสกุล Paeonia
วงศ์ Paeoniaceae
เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชีย, ตอนใต้ของยุโรป และตะวันตกของอเมริกาเหนือ
ในอดีต โบตั๋นมักถูกจัดอยู่ในวงศ์ Ranunculaceae
วงศ์ Paeoniaceae
เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชีย, ตอนใต้ของยุโรป และตะวันตกของอเมริกาเหนือ
ในอดีต โบตั๋นมักถูกจัดอยู่ในวงศ์ Ranunculaceae
พืชสกุลโบตั๋นส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุกหลายปี
สูงประมาณ 0.5–1.5 เมตร
บางชนิดเป็นพุ่ม ลำต้นมีเนื้อไม้ สูง 1.5-3 เมตร ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ มีแฉกลึก ดอกใหญ่
และมักมีกลิ่นหอม มีหลายสี ตั้งแต่ แดง บานเย็น เหลือง จนถึงขาว
มักออกดอกในช่วงต้นฤดูร้อน
ชื่อ "โบตั๋น" ในภาษาไทย
มาจากชื่อดอกไม้นี้ในภาษาญี่ปุ่นว่า "โบะตัง" (ボタン Botan ?) แต่บางคนก็ว่า มาจากชื่อในภาษาจีนว่า "หมู่ตัน" (牡丹 mǔ
dān ?)[1]
โบตั๋นนั้น ในภาษาอังกฤษเรียกว่า "peony"
โดยมีตำนานเล่าว่า
ตั้งตามชื่อของไพอัน (Paean) ศิษย์คนหนึ่งของเอสเคลปิอัส เทพเจ้าแห่งการแพทย์ของกรีกโบราณ
ต่อมาเอสเคลปิอัสอิจฉาลูกศิษย์ของตน เทพเซอุสช่วยไพอันให้พ้นภัยโดยสาปให้กลายร่างเป็นดอกโบตั๋น [2]
ชนิดไม้ล้มลุก มีด้วยกันประมาณ 30 ชนิด
Paeonia brownii (Brown's Peony)
Paeonia mlokosewitschii (Golden
Peony)
Paeonia veitchii (Veitch's
Peony)
ชนิดไม้เนื้อแข็ง (ประมาณ 8 ชนิด)
Paeonia delavayi (Delavay's
Tree Peony)
Paeonia jishanensis (syn. Paeonia
spontanea; Jishan Peony)
Paeonia ludlowii (Ludlow's
Tree Peony)
Paeonia ostii (Osti's Peony)
Paeonia qiui (Qiu's Peony)
Paeonia rockii (syn. Paeonia
suffruticosa subsp. rockii; Rock's Peony or Tree Peony)
ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ที่นิยมใช้ในงานศิลปะมายาวนาน
และหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติของจีน โดยถือเป็นดอกไม้แห่งเกียรติยศและความร่ำรวย
กับนิยมใช้ในเชิงสัญลักษณ์ในศิลปะจีนอีกด้วย [3] เมื่อ ค.ศ.1903 ราชวงศ์ชิงประกาศให้โบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติ ปัจจุบันนี้ไต้หวันใช้ดอกเหมยเป็นดอกไม้ประจำชาติ ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้ใช้เป็นดอกไม้ประจำชาติตามกฎหมายอีกแล้ว
และต่อมาเมื่อปี 1994 มีการเสนอให้ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติอีก
โดยการทำประชามติ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับ กระทั่ง ค.ศ. 2003 มีการเสนอดังกล่าวอีกครึ่งหนึ่ง
และยังไม่มีการเลือกใช้ดอกโบตั๋นอีกเช่นกัน
เมืองลั่วหยาง เมืองหลวงเก่าที่มีชื่อเสียงของจีน
มีชื่อเสียงในฐานะศูนย์กลางการปลูกดอกโบตั๋นที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์จีน
มักจะยกย่องโบตั๋นจากลั่วหยางว่างดงามที่สุดในแผ่นดิน
ปัจจุบันยังมีการจัดนิทรรศการและการแสดงดอกโบตั๋นในเมืองนี้ปีละนับสิบๆ ครั้ง
ในประเทศญี่ปุ่น ดอกโบตั๋นชนิด Paeonia lactiflora เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ebisugusuri (แปลว่า "ยาจากต่างแดน")
ตามตำรับยาของญี่ปุ่น ถือว่ารากโบตั๋นใช้รักษาอาการชักได้
นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โบตั๋นชนิด Paeonia suffruticosa ในญี่ปุ่น ถือว่าเป็น "ราชาแห่งดอกไม้"
และชนิด Paeonia lactiflora ถือว่า เป็น นายกรัฐมนตรีแห่งดอกไม้"[4]
ภาษาญี่ปุ่นเรียกโบตั๋นว่า โบตัน (牡丹)
ก่อนสมัยเมย์จิ เนื้อจากสัตว์สี่เท้าไม่นิยมบริโภคมากนัก เนื่องจากชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เมื่อเอ่ยถึงเนื้อสัตว์จึงเลี่ยงมาใช้ชื่อดอกไม้แทน
คำว่า โบตัน ถูกใช้เรียกเนื้อหมูป่า มาตั้งแต่ครั้งนั้นจนปัจจุบัน
ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหมูป่าเมื่อแล่เป็นชิ้นบางๆ จะหลายกับดอกโบตั๋นนั่นเอง
ในทำนองเดียวกัน ชาวญี่ปุ่นใช้ดอกซากุระแทนคำเรียกเนื้อม้า
ในรัฐอินเดียนา ของสหรัฐอเมริกา
ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำรัญมาตั้งแต่ ค.ศ. 1957 โดยใช้แทนดอก zinnia ที่เคยใช้เป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ.1931.
โบตั๋นนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
เพราะมีดอกสวยงามและใหญ่มาก ทั้งยังมีกลิ่นหอมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น