ชื่อสามัญ: หยาดน้ำค้าง
ชื่อพื้นเมืองอื่น: จอกบ่วาย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Drosera Burmannii Vahi
วงศ์: Droseraceae
ลักษณะ: หยาดน้ำค้าง มีใบเป็นแผ่นมนรี ค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายช้อน เรียงกันเป็นรูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ ๑.๕ - ๓ เซนติเมตร ช่วงต้นฤดูฝนใบจะเป็นสีเขียวพอถึงปลายฤดูฝนใบจะมีสีแดงเรื่อตามขอบใบ ใบจะมีขนเล็กๆเป็นจำนวนมาก ปลายขนจะมีน้ำหวานเหนียวๆเกาะอยู่ คล้ายกับหยาดน้ำค้าง มีไว้เพื่อดักจับมดแมลงไว้ย่อยสลายเป็นอาหาร ดอกจะออกระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม ออกเป็นช่อจากใจกลางต้น ช่อดอกสูง ๕ - ๑๕ เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของต้น
ถิ่นที่พบ: ขึ้นตามทุ่งหญ้าโล่ง ที่เป็นดินทราย, ชื้นแฉะ
สถานที่ถ่ายทำ: อุทยานแห่งชาติภูวัว จังหวัดหนองคาย
เคยเห็นครั้งแรกก็ที่ภูวัวนี่แหละ ตื่นเต้นมากๆ ... ดอกเล็กๆ น่ารักดี ขึ้นกระจายอยู่ตามลานหิน พบได้ตลอดทาง เดินไปดูไป..เพลินดีเหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น