ชื่อไทย : แกลดิโอลัส
ชื่อสามัญ (Common name) : Gladiolus
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) :
Gladiolushybrida
ชื่อวงศ์ (Family) : Iridaceae
ถิ่นกำเนิด : แอฟริกาใต้
แกลดิโอลัสหรือซ่อนกลิ่นฝรั่ง
เป็นไม้ตัดดอกที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบันมีสีสันสะดุดตา เช่น สีขาว เหลือง
ชมพู แดง ม่วง ส้ม มีช่อดอกยาว เหมาะสำหรับปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้า เพราะสามารถตัดช่อดอกได้ตั้งแต่ดอกยังไม่บาน
แกลดิโอลัสมีมากกว่า 150 ชนิด มีทั้งกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่น
ปัจจุบันมีพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า เกือบ 3,000 พันธุ์ สำหรับพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยไม่แน่นอน
เพราะได้มีการสั่งพันธุ์ แกลดิโอลัสใหม่ ๆ เข้ามาปลูกอยู่เสมอ
เพราะต้องการให้ตรงกับความนิยมของผู้ใช้ และคุณภาพ
ของพันธุ์ที่ได้จากการเก็บหัวพันธุ์มาปลูกจะลดลง
ที่แนะนำให้ปลูกเป็นไม้ตัดดอก พันธุ์ดอกกลางและดอกใหญ่
ที่แนะนำให้ปลูกเป็นไม้ตัดดอก พันธุ์ดอกกลางและดอกใหญ่
1. Peerless ดอกมีสีแดงสดสม่ำเสมอทั่วทั้งกลีบโดยไม่มีสีอื่นเจือปน
กลีบดอกหนาแข็ง เปิดกว้างขอบกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย ช่วงช่อยาว 75-80 ซม. ดอกในช่อมีประมาณ 20-25 ดอก บานเรียงสลับฟันปลาเกยก่ายซ้อนกันในคราวเดียว 5-6 ดอก ทนร้อนได้ดี แต่หากออกดอกช่วง
ฝนตกจะทำให้ดอกช้ำได้ จึงทำให้เหมาะสำหรับปลูกไม้ตัดดอก
2. Aztec Gold ดอกมีสีเหลืองอ่อน
ในคอดอกจะมีสีเหลืองเข้มกว่าส่วนของกลีบดอกเล็กน้อย ดอกบานกว้าง
กลีบบนงุ้มคลุมเกสร กลีบล่างโค้งงอม้วนไปด้านหลังจรดก้านดอก กลีบดอกหนา แข็ง
ขอบกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายกลีบนอกบนหยัก ทนร้อนได้ดีพอสมควร ช่อดอกยาว มี 16-18 ดอกต่อช่อ และบานพร้อมกัน 5-6 ดอก ใช้เป็นไม้ตัดดอกได้ดีเช่นกัน
3. Precision ดอกมีสีกุหลาบม่วงแดง คอสีครีมแต้มเป็นปื้น
เส้นกลางกลีบขาวจากโคลนมาถึง ปลายกลีบ ขอบกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย
อับเกสรมีสีม่วงแดง ช่อดอกยาว 125-130 ซม. ช่วงช่อดอก ยาว 60 ซม. ดอกในช่อมีประมาณ 18 - 20 ดอก บานพร้อมกัน 6-7 ดอก ความสม่ำเสมอของช่อดอก ดีมาก ตั้งตรง แข็งแรงใช้ทำไม้ตัดดอกได้ดี
4. Sentry สีแดงสดใส
ในคอกลีบสีแสดมีเส้นสีขาวแซมจากกลางถึงปลายกลีบทำให้สีกลีบดู เด่นขึ้น เกสรสีม่วง
ปลายกลีบมน ขอบกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย ช่อดอกอวบแต่แข็งแรง สูงประมาณ 130
- 140 ซม. ช่วงช่อ 60
- 65 ซม.
จำนวนดอกในช่อ 19 - 20 ดอกและบานพร้อมกัน 6 - 7 ดอก ปลูกเลี้ยงง่าย ต้นสม่ำเสมอดีมาก
ไม่มีปัญหาด้านโรค เหมาะสำหรับปลูกตัดดอก
5. Shilo เป็นไม้สามสีขนาดกลางที่น่าสนใจ
กลีบสีเหลืองส่วนบนสีครีม ปากสีแดงสด กลีบหนา แข็งผิวมันคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง
ช่อดอกตั้งตรงแข็งแรงและสม่ำเสมอ ดอกในช่อ 20 - 22 ดอก บานพร้อมกัน 7-8 ดอก ขยายพันธุ์ได้เร็วพอสมควร
น่าใช้เป็นไม้ตัดดอก
6. Vega ดอกสีขาวสวยงามมากชนิดหนึ่ง กลีบดอกเปิดกว้าง
กลีบหนา ขอบกลีบเป็นคลื่นสวย ต้นใหญ่แข็งแรง จำนวนดอกในช่อ 24 - 26 ดอกบานพร้อมกัน 7 - 8 ดอก ขยายพันธุ์ได้เร็ว ปลูกเป็น
ไม้ตัดดอกได้ดีทั้งในฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
พันธุ์ดอกเล็กและดอกจิ๋ว
1. Ajax มีดอกสีขาว คอดอกสีเขียวอ่อน
กลีบดอกเปิดกว้างขอบเป็นคลื่นปานกลางพอเหมาะ กับขนาดของช่อดอก ช่อดอกเรียวงาม
มีดอก 16 - 18 ดอก บานเรียงพร้อมกัน 5 - 6 ดอก ช่วงช่อ 50 - 55 ซม. บานทนเมื่อใช้จัดแจกัน
2. Candice มีดอกสีแดงปนส้ม ปากสีแสดปนแดงเข้ม
กลีบดอกเปิดกว้าง ปลายกลีบแหลม และม้วนงอไปด้านหลัง ช่อดอกเรียวเล็ก แต่ตั้งตรง
แข็งแรงมาก ดอกในแต่ละช่อ 18 - 20 ดอก บานพร้อมกัน 6 - 7 ดอก บนชาวงช่อที่ยาว 40 - 45 ซม. การเรียงของดอกจัดสลับฟันปลาเป็นระเบียบ
ดีมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นไม้ตัดดอก
3. Firestorm จัดเป็นแกลดิโอลัสพันธุ์จิ๋วที่มีสีแดงเสมอทุกกลีบ
กลีบดอกเมื่อบานเต็มที่จะโค้งไป ด้านหลังเล็กน้อย
ส่วนกลีบในจะมีสีนูนวิ่งจากกลางถึงปลายกลีบ และกลีบจะงุ้มมาข้างหน้า ปลายกลีบแหลม
ขอบกลีบเรียบต้นสูงประมาณ 90 ซม. ช่วงช่อ 40 - 45 ซม. ดอกในช่อ 18 - 20 ดอก และจะบานพร้อมกัน 6 - 7 ดอก การเรียงของดอกเป็นระเบียบดีใช้จัดแจกันเล็กได้งดงาม
4. Gigi ดอกสีชมพูเข้มในคอขาว ดูสดใส
ขอบกลีบเป็นคลื่นพองาม ช่อดอกเรียวสวย ช่วงช่อ 50 - 55 ซม. ดอกในช่อ 18 - 20 ดอก บานพร้อมกัน 6 - 7 ดอก เป็นไม้ที่เหมาะสมสำหรับปลูกตัดดอก
5. Krystal เป็นไม้สีแดง กลีบเป็นคลื่น ช่อดอกสวย
ก้านแข็งแรง ใช้เป็นไม้ตัดดอกได้ดี
6. Small Wonder ดอกสีชมพูอ่อน ในคอสีครีม ขอบเป็นคลื่น
ดอกเปิดกว้าง ช่อดอกเรียวสวย ดอกในช่อ 18 - 20 ดอก บานพร้อมกัน 5 - 6 ดอก เป็นไม้จิ๋วสำหรับปักแจกันได้เหมาะสมมาก
การขยายพันธุ์ เช่น การเพาะเมล็ด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้หัว และหัวย่อย
แต่โดยปกตินิยม
แกลดิโอลัสจัดเป็นพืชหัว (Corm) เมื่อปลูกแล้วจะเกิดหัวใหม่ขึ้นแทนหัวเก่า
สามารถใช้ขยายพันธุ์ ได้ต่อไป และยังมีหัวย่อยเกิดขึ้นอีกมากมาย
ปัจจุบันนี้มีการผลิตหัวย่อยได้ผลดีที่ภาคเหนือ ชนิดของแกลดิโอลัส
ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และได้มีการนำมาใช้เป็นหลักในการพัฒนาการผลิต
พันธุ์แกลดิโอลัสพันธุ์ใหม่ ๆ คือ
1. แกลดิโอลัส แกรนดิฟลอรัส (Gladiolus
grandiflorus) เป็นชนิดต้นใหญ่
ช่อดอกอวบยาว และ แข็งแรง ดอกใหญ่เรียงชิดกัน ช่อดอกหนึ่ง ๆ อาจมีดอกถึง 20 ดอก และดอกบานพร้อมกันประมาณ 5 - 7 ดอก
2. แกลดิโอลัส พรายมูลินัส (Gladiolus
primulinus) เป็นชนิดต้นเล็ก
ช่อดอกเล็กยาวเรียว ดอกเล็กเรียงห่างกัน จำนวนดอกในช่อน้อย มีลักษณะพิเศษคือ
กลีบบนชั้นในงุ้มงอปรกเกสร
3. แกลดิโอลัส ทูเบอเจนนิอาย (Gladiolus
tubergenii) เป็นชนิดที่ต้นและดอกเล็ก
แต่ดอกใน ช่อเรียงชิดกัน ใช้ในการผสมเพื่อผลิตแกลดิโอลัสพันธุ์ดอกจิ๋ว
4. แกลดิโอลัส โควิลลีอาย (Gladiolus
covillei) เป็นลูกผสมระหว่างแกลดิโอลัส
คาร์ดินาลิส (Gladiolus cardinalis) ซึ่งเป็นชนิดที่มีต้นสูงใหญ่ ดอกสีแดง
กับแกลดิโอลัส ทริสติส (Gladiolus tristis) ซึ่งเป็นชนิดดอกเล็ก สูงไม่เกิน 60 ซม. ใน 1 ช่อมีเพียง 2 - 4 ดอก มีสีขาวหรือครีม และมีสี
ม่วงหรือสีน้ำตาลปนอยู่เป็นเส้น
5. แกลดิโอลัส นานุส (Gladiolus nanus) เป็นประเภทหนึ่งของพันธุ์โควิลลีอายที่ต้นมีขนาดเล็ก
ช่อดอกเล็กเรียวยาว ขนาดดอกเล็กบอบบาง มีสองสีในแต่ละกลีบจำนวนดอกในช่อน้อยและ
ดอกจะบานพร้อมกันคราวหนึ่งเพียง 1 - 2 ดอก ในแต่ละช่อ
หัว คือ ส่วนของลำตันที่โป่งพองอยู่ใต้ดิน
ห่อหุ้มด้วยกาบใบที่ตายแล้ว หลังจากเก็บเกี่ยวหัว แล้วไม่สามารถนำหัวไปปลูกได้เลย
เพราะแกลดิโอลัสจะมีช่วงพักตัวซึ่งจะกินเวลา 2 - 3 เดือน แล้วแต่พันธุ์
หัวพันธุ์ที่พ้นระยะพักตัวและสามารถนำไปปลูกได้สังเกตได้จากตาบนหัวจะแหลม
และโป่งพองออกพร้อมที่จะงอก
ที่ฐานของหัวจะมีปุ่มรากเกิดขึ้นเมื่อนำไปปลูกตาบนหัวจะเจริญ เป็นต้น
ซึ่งประกอบด้วยกาบใบ
การแทงช่อดอกของแกลดิโอลัส จะเริ่มเมื่อแกลดิโอลัสมีใบ 3
- 7 ใบ
ซึ่งช่วงนี้ต้องมีการให้น้ำ อย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งช่วงที่มีการแทงช่อดอกนี้หัวเก่าจะเริ่มฝ่อไป และมีการเริ่มสร้างหัวใหม่บริเวณ
โคนต้นที่อยู่ชิดกับหัว
ก็จะเริ่มสะสมอาหารและพองออกส่วนที่พองออกนี้จะเจริญเป็นหัวใหม่ ต่อไป
บริเวณรอยต่อระหว่างหัวเก่ากับหัวใหม่นี้ยังเป็นที่สร้าง Stolonที่ปลาย Stolon จะสร้างหัว ขนาดเล็กเรียกว่า หัวย่อย (Cormel) และบริเวณรอยต่อนี้ยังสร้างรากสะสมอาหาร (Contractile
Root) หลังจากตัดดอกประมาณ2 เดือน
หัวใหม่และหัวย่อยก็จะเจริญเต็มที่ควรงดการให้น้ำสัก 7 - 10 วัน ใบจะแห้งหัวเก่าจะฝ่อไป
แล้วจึงขุดหัวและหัวย่อยเพื่อใช้ปลูกในฤดูกาลต่อไป
ปัจจุบันมีการนำสารเคมีมาทำลายระยะพักตัวของหัวแกลดิโอลัส เพื่อปลูกในรุ่นต่อไปได้เร็วขึ้น
เช่น
1. การรมด้วยสารเอธิลีน คลอโรไฮดริน อัตรา 0.5
- 4 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร ในภาชนะปิดเป็นเวลา 2 วัน จะทำให้ย่นระยะการพักตัว
และยังเพิ่มเปอร์เซนต์การงอกด้วย
2. แช่แกลดิโอลัสในแอลกอฮอล์ 1 ชั่วโมง
จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกและป้องกันโรคได้ มีผล ทำให้ใบเล็กลง โตช้าแต่ต้นแข็งแรง
3. การรมด้วยเอธิลีน อีเธอร์ ในอัตรา 1 ซีซี. ต่อน้ำ 2 ลิตร ในภาชนะปิด
เนื่องจากแกลดิโอลัสเป็นพืชหัว ดินที่เหมาะสมจึงเป็นดินร่วนปนทราย
มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี และเก็บความชื้นดี แปลงปลูกควรกว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนความยาวแล้วแต่ขนาดของพื้นที่
แต่ละแปลงประกอบด้วยแถวคู่ 2 แถว ระยะระหว่างแถว 15ซม. ระยะระหว่างแถวคู่ 20 ซม. ระหว่างต้นห่างกัน 15 ซม. แต่ละแถวทำเป็นร่องตัววี (V) ลึก 15 ซม. ยาวตลอดแปลงปลูก
รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต 1 ช้อนชา ต่อหลุมคลุกเคล้ากับดินเล็กน้อย
การปลูกแกลดิโอลัสให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี
ควรมีการคัดขนาดของหัวก่อนนำไปปลูก โดยคัด หัวที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
และเป็นหัวที่มีอาหารสะสมอยู่มาก สังเกตได้จากเส้นผ่าศูนย์กลางของ
หัวควรมีขนาดอย่างต่ำ 1.5 นิ้ว และส่วนบนของหัวนูนแหลมขึ้นไม่ควรเลือกหัวที่บุบลึกลงเพราะ
ทำให้ต้นที่งอกใหม่ไม่แข็งแรง เนื่องจากเป็นหัวเก่าการปลูกต้องฝังหัวลึกพอสมควร
ขึ้นอยู่กับ ขนาดของหัวและลักษณะดิน ถ้าเป็นดินเหนียวหรือดินหนักควรปลูกให้ตื้นกว่าดินร่วนปนทราย
คือดินร่วนปนทรายปลูกลึกประมาณ4 - 5 นิ้ว ถ้าเป็นดินเหนียวปลูกลึกประมาณ 3
- 4 นิ้ว
ควรใส่ปุ๋ย รองก้นหลุม สูตร 14 – 14 - 21, 13 – 13 - 21 หรือ 9 – 24 - 24อัตรา 10 กรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ตารางเมตร แล้ว
กลบดินก่อนเพื่อไม่ให้หัวพันธุ์โดนปุ๋ยโดยตรง และควรใส่ยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น
ฟูราดาน รองก้นหลุมด้วย เพื่อป้องกันแมลงในดิน ระยะระหว่างหัวควรห่างกัน 15 ซม.
แล้วจึงกลบดินคลุมทับด้วยฟางข้าวหรือแกลบอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อรักษาความชื้นและกำจัดวัชพืชได้ง่ายขึ้น
ในต่างประเทศได้แบ่งเกรดตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวได้ 7 เกรด คือ
1. Jumbo เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว
2. No. 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2 นิ้ว
3. No. 2 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.25 - 1.5 นิ้ว
4. No. 3 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.25 นิ้ว
5. No. 4 เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75 - 1 นิ้ว
6. No. 5 เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 - 0.75 นิ้ว
7. No. 6 เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 นิ้ว
หรืออาจจัดเป็น 3 เกรด คือ
1. Large เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 นิ้ว
2. Medium เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75-1.25 นิ้ว
3. Small เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 นิ้ว
นำหัวที่พ้นระยะพักตัวแล้ววางไว้ที่ก้นหลุม
โดยเอาส่วนแหลมของหัวตั้งขึ้นและแกะเอา
เปลือกหุ้มออกบ้างกลบดินเล็กน้อยเมื่อต้นงอกสูงประมาณ 30 ซม. จึงพลิกดินข้างร่องกลบโคนต้น
ถ้าต้นเอนต้องใช้ไม้ค้ำ
n การให้น้ำ ควรให้อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่มีอากาศร้อนจัดและในระยะที่แท่ง
ช่อดอกไม่ควรให้ต้นขาดน้ำ nการใส่ปุ๋ย แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 หรือระยะตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงออกดอก
เป็นระยะที่แกลดิโอลัสใช้อาหารสะสมที่อยู่
ในหัวดังนั้นแกลดิโอลัสจึงต้องการปุ๋ยนิยมให้ในช่วงนี้ คือ จะใช้ปุ๋ยสูตร 5
– 10 - 10 ประมาณ 2 ช้อนชา/ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 ช้อนชา ครั้งแรกใส่รองก้นหลุม และครั้งที่ 2 ใส่หลังปลูก ประมาณ 1 เดือน
ระยะที่ 2 หลังจากตัดดอกแล้ว
แกลดิโอลัสต้องการอาหารจากภายนอกเพื่อสร้างและสะสม อาหารในหัวใหม่ และหัวย่อย
ใส่ปุ๋ย 5 – 10 - 10 ประมาณ 2 ช้อนชา แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ หลังตัดดอก ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรก 2 สัปดาห์
แกลดิโอลัสจะให้ดอกเมื่ออายุประมาณ 60
- 140 วันหลังปลูกและควรตัดดอกเมื่อดอกล่างสุด 2
- 4 ดอกปรากฏสีของดอก
(ยังไม่บาน) โดยใช้มีดคม ๆ ตัด การตัดควรเหลือทิ้งใบไว้บนต้น อย่างน้อย 4
- 5 ใบเพราะถ้าตัดต่ำเกินไปจะทำให้หัวใหม่มีขนาดเล็กและไม่สมบูรณ์
หลังจากตัดดอกแล้วควรแช่น้ำทันที คัดขนาดของช่อดอกให้เสมอกันโดยพิจารณาจากความยาว
ของช่อดอกและจำนวนดอกในแต่ละช่อ จากนั้นนำช่อดอกมามัดรวมกัน มัดละประมาณ 20 ช่อ
และเพื่อป้องกันดอกสูญเสียน้ำมากเกินไปควรให้มิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
เมื่อขนส่งจึง บรรจุใส่กล่อง ถ้าเป็นไปได้ควรเก็บดอกไว้ที่ห้องเย็นอุณหภูมิ 4
- 6 องศา C ในระหว่างรอการ ขนส่ง
เพราะสามารถยืดอายุอายุการเก็บรักษาได้ 3 - 7 วัน ในทุกขั้นตอนของการดำเนินการควร
ใส่ช่อตั้งขึ้นเพราะถ้าวางในแนวราบปลายช่อดอกจะโค้งงอเนื่องจากการต้านแรงดึงดูดของโรค
เกรดของช่อดอกแกลดิโอลัสซึ่งสมาคมผู้ปลูกเลี้ยงแกลดิโอลัสแห่งมลรัฐฟลอริดาได้แบ่งไว้ดังนี้
เกรด
|
ความยาวของก้าน
|
จำนวนดอกในช่อ
|
Extra Fancy
|
42 นิ้ว ขึ้นไป
|
ไม่น้อยกว่า 12
|
Special
|
38-42 นิ้ว
|
ไม่น้อยกว่า 12
|
A
|
34-48 นิ้ว
|
ไม่น้อยกว่า 12
|
B
|
30-24 นิ้ว
|
ไม่น้อยกว่า 10
|
C
|
24-30 นิ้ว
|
ไม่น้อยกว่า 7
|
ส่วนโครงการหลวงได้สรุปคุณภาพของแกลดิโอลัส
ไว้เป็น 3 เกรด
คือ เกรด A, B และ C โดยช่อหนึ่งๆ ต้องมีดอกที่ไม่บาน12, 8 และ 6 ดอกขึ้นไป และมีก้านช่อดอกยาวมากกว่า 100,
80 และ 60 ซม. ตามลำดับ โดยใส่ในกล่องกระดาษขนาด 104
x36x 19.5 ซม.
ซึ่งควรมีความ แข็งแรงเพียงพอที่เมื่อบรรจุดอกแกลดิโอลัสวางซ้อนกันแล้ว
กล่องกระดาษจะไม่เสียรูปทรง และไม่ทำให้ดอกเสียหาย
ทำเลหรือพื้นที่การปลูกแกลดิโอลัส
ควรปลูกบริเวณที่สูง มีอากาศค่อนข้างเย็นซึ่งปัจจุบันเมื่อ การขนส่งสะดวกขึ้น
จึงสามารถตัดปัญหาเรื่องการขนส่งออกไปได้ แต่ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายในการ
ขนส่งเพิ่มขึ้นด้วย
ฉะนั้นถ้าเกษตรกรปลูกในปลูกพื้นที่ที่เหมาะสมก็สามารถได้ผลผลิตคุ้มค่ากับ
ที่เสียไปกับการขนส่ง
ปัจจุบันนี้พื้นที่การปลูกแกลดิโอลัสส่วนใหญ่
จะเป็นบริเวณจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย
และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และในพื้นที่
บริเวณเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ด้วย ส่วนใหญ่แกลดิโอลัสที่ปลูกจะส่งมาขายยังตลาดในกรุงเทพ
มหานคร และส่งไปขายยังตลาดต่างประเทศอีกบ้างเล็กน้อย เช่น ซาอุดิอาระเบีย แคนาดา
ซึ่งจะ ประสบปัญหาเกี่ยวกับ ดอกไม่สม่ำเสมอ ค่าขนส่งสูง ปลายช่อดอกโค้งงอ
ทำให้คุณภาพดอกลดลง
1. โรคหัวเน่า (Fusarium Dry Rot) เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporium โรคนี้ทำให้หัวที่ปลูก เน่าและมีผลให้ใบเหลือง
ปลายและขอบใบแห้ง ถ้าเกิดกับต้นที่ยังไม่ให้ดอก จะทำให้ต้นตาย ไปก่อนที่ให้ดอก
โรคนี้เมื่อเกิดขึ้นจะกำจัดได้ยากมาก วิธีป้องกันกำจัดควรขุดขึ้นมาเผาทำลาย
ทั้งต้น
หากเก็บหัวที่เป็นโรคไว้จะแสดงอาการระหว่างเก็บรักษาโดยมีแผลสีน้ำตาลเกิดขึ้นที่หัว
และแผลขยายวงออกไปเรื่อย ๆ ทำให้หัวเน่าเสียหายเป็นอันมาก การป้องกันกำจัด
ควรตรวจเช็คหัวก่อนปลูกถ้าพบหัวเป็นโรคทำลายเสียไม่ควรเก็บไว้ทำพันธุ์
ต่อไปเพราะจะเป็นแหล่งกระจายโรคและก่อนปลูกควรแช่หัวในน้ำยาไลโซล 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 11 ลิตร นาน 4ชม.
2. โรคใบจุด Curvularia Leaf Spot เกิดจากเชื้อรา Curvularia lunata โดยเกิดขึ้นทั้งบนใบและ ก้านช่อดอก
โดยเริ่มจากจุดกลมสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง ขอบแผลมีสีเหลืองบางแผลมีขนาดใหญ่
ใบจะแห้งและร่วงหล่น ช่อดอกสั้น เชื้อนี้จะระบาดโดยติดไปกับหัวพันธุ์
การป้องกันกำจัด ควรคลุกหัวพันธุ์ด้วยยาป้องกันเชื้อราก่อนปลูก
และถ้าระบาดในแปลงควรใช้ ยาไดไธโอคาร์บาเมต เช่น ไซเนบ มาเนบ ฉีดพ่น
3. โรคใบด่างดอกด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการจะปรากฏชัดบนใบและดอก โดยจะเห็นรอยด่าง เป็นทางทำให้ดอกไม่สมบูรณ์ เมื่อพบควรถอนและทำลายโดยการเผาไฟ
4. เพลี้ยไฟ (Trips) จะดูดกินน้ำเลี้ยงทั้งใบและดอก ดอกที่ถูกเพลี้ยไฟดูดเกาะทำลายมาก
ๆ จะไม่บานและเหี่ยวแห้งไป ถ้าดอกบานแล้วจะทำให้ดอกมีรอยขีดซีด ๆ
ดูเหมือนกลีบดอกด่าง มีตำหนิขายไม่ได้
ควรฉีดพ่นด้วยยาโตกุไธออนหรือยาประเภทดูดซึมสัปดาห์ละครั้ง ในช่วงที่ แทงช่อดอก
5. ไรแดง (Spider Mites) เมื่อเข้าทำลายจะสังเกตเห็นใบเหลืองหรือแห้งโดยเฉพาะบนใบแก่
ขอบใบและปลายใบ จะแห้งผิวใบกร้านมีจุดละเอียดสีขาวโดยทั่วไปควรฉีดยาเคลเทนเมื่อพบ 6. หนอนกระทู้ (Cutworm) หนอนผีเสื้อ (Caterpillar) และแมลงเต่าญี่ปุ่น (Japanese beetle) จะกัดกินและทำลายต้นอ่อนอาจใช้ยาฆ่าแมลง เช่น
มาลาไธออน อโซดริน หรือ แลนแนต ฉีดพ่น
แกลดิโอลัสจัดเป็นไม้ดอกเมืองหนาว
ที่มีการผลิตเป็นการค้ามาไม่นาน ตลาดยังไม่กว้างขวาง
ตลาดที่สำคัญของแกลดิโอลัสอาจจะหาซื้อได้ที่ตลาดปากคลองตลาดหรือร้านขายส่งดอกไม้ทั่วไป
หรือจากร้านจัดดอกไม้สดบางแห่ง ซึ่งมักจะสั่งซื้อดอกแกลดิโอลัสโดยตรงจากผู้ผลิต
ราคาของ ดอกแกลดิโอลัสจะแตกต่างไปตามคุณภาพ
ซึ่งเป็นไปตามขนาดความยาวของก้านดอกเป็นสำคัญ ราคาเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 1
- 8 บาท ต่อช่อดอก
ความหมายของดอกแกลดิโอลัสคือความเป็นตัวของตัวเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น