วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ต้นพลับพลึง

ต้นพลับพลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Crinum asiaticun Linn.
ชื่อวงศ์:  Amarylidaceae
ชื่อสามัญ:  Crinum Lily, Veldlily
ชื่อพื้นเมือง:  ลิลัว
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวกลม ส่วนที่โผล่พ้นดินเป็นกายใบอัดกันแน่น
    ใบ  เป็นใบเดี่ยว  เรียงซ้อนเป็นวงกว้าง 7-15 ซม. ยาว 1 เมตร ปลายใบแหลม  แผ่นใบอวบหนา  มีหน่อจำนวนมากขึ้นรวมกันเป็นกอ แผ่นใบเป็นมันเรียบ ลักษณะแคบ เรียวยาว เรียงเวียนรอบ แกนลำต้น ออกดอกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว  
    ดอก  ช่อดอกขนาดใหญ่  ลักษณะคล้ายปากแตร ผลค่อนข้างกลม มีสีขาวหรือม่วงแดง  ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง  มีดอกย่อยจำนวนมาก 10-30 ดอก ก้านช่อดอกอวบใหญ่ กลีบดอกตอนโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 7-10 ซม. ปลายแยกเป็น 6 กลีบแคบๆ กว้าง 1 ซม. ยาว 7 ซม.  ดอกทยอยบาน มีกลิ่นหอม พลับพลึงดอกสีแดงจะมีช่อดอกและดอกใหญ่กว่าพลับพลึงดอกสีขาว 
    ฝัก/ผล  ค่อนข้างกลม
การปลูก:  นิยมปลูกกันตามร่องสวนในภาคกลางทั่วไป
การดูแลรักษา:  ชอบขึ้นในดินที่ชื้นสามารถทนอยู่ในดินแฉะที่ไม่ค่อยระบายน้ำหรือในบริเวณที่แห้งแล้งในบางช่วงได้
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด แยกหน่อ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก กลิ่นหอม
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ต้นที่มีขนาดใหญ่ใช้ในการแกะสลักเพื่อตกแต่งในงานพิธีต่างๆ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ทวีปเอเซีย
สรรพคุณทางยา:
    -    หัว  ใช้ต้เอาน้ำรับประทานทำให้อาเจียนเป็นเสมหะ ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย รักษาโรคเกี่ยวกับ น้ำดี โรคเกี่ยวกับปัสสาวะ
    -    ใบ  ใช้ลนไฟพอนิ่ม พัแก้เคล็ดบวม แพลง ขัดยอก ใช้ตำปิดศรีษะ แก้ปวดศีรษะ ลด    อาการไข้ ใช้ต้มดื่มทำให้อาเจียน
    -    ราก  ใช้ตำพอกแผล ใช้เคี้ยวกลืนแต่น้ำทำให้อาเจียน ใช้รักษาพิษยางน่อง
    -    เมล็ด  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน เป็นยาระบาย เป็นยาบำรุง
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น